pun0007za โพสต์เมื่อ 2012-2-28 08:34:42

มาเพาะด้วงกันเถอะ !! แก้ไขปรับปรุง29/07/2013

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย pun0007za เมื่อ 2013-7-29 00:20

มาเพาะด้วงกันเถอะ!!
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าด้วงแบ่งเป็นกี่ชนิดกันบ้างนะครับ เขาว่ากันว่า ด้วงหรือแมลงปีกแข็งนั้นมีจำนวนที่เยอะที่สุดในโลกซึ้งสามารถแบ่งออกเป็นหลายวงศ์เลยทีเดียวครับแต่ด้วงที่นิยมเพาะเลี้ยงกันส่วนใหญ่มักจะอยู่ในวงศ์Scarabaeidaeครับ เช่นด้วงคีม(Lucanidae) ด้วงกว่าง(Dynastinae)กว่างดาว(Euchirinae)ด้วงดอกไม้(Cetoniinae) เป็นต้น  ต่อมาเราจะมาดูวิธีการเพาะด้วงแต่ล่ะชนิดกันนะครับซึ่งแต่ล่ะชนิดก็จะมีวิธีการเพาะที่แตกต่างกันไปหรือบางชนิดก็อาจมีวิธีเพาะที่เหมือนกันครับดังนั้นถ้าเพาะชนิดใดชนิดหนึ่งสำเร็จชนิดอื่นๆที่มีการเพาะเลี้ยงคล้ายๆกันก็สามารถเพาะได้ไม่ยากเช่นกันครับ
อุณภูมิและความชื้น    อุณภูมิและความชื้นนั้นเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับการเจริญเติบโตของด้วงครับอย่างไรก็ตามด้วงทั่วไปที่สามารถพบในประเทศไทยส่วนใหญ่เช่น กว่างชน กว่างญี่ปุ่นด้วงแรดมะพร้าวและด้วงดอกไม้ทั่วไปสามารถเพาะได้ในอุณภูมห้องปกติ25-30องศาเซลเซียสหรืออาจต่ำหรือสูงกว่านิดหน่อยแต่อุณภูมิที่เหมาะสำหรับการเพาะเลี้ยงด้วงคือ23-27ครับขึ้นอยู่กับชนิดของด้วง บางชนิดอาจชอบเย็นมากกว่าเช่นกลุ่มด้วงคีมก้ามปู(Lucanussp.)ที่ต้องการความเย็นกว่า20องศาเซลเซียสในการเพาะเลี้ยงเป็นต้นและนอกจากนี้การเลี้ยงตัวอ่อนในสถานที่ที่เย็น(ประมาน23-26องศาเซลเซียส)ถือเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัวอ่อนเลี้ยงออกมาได้ขนาดใหญ่แต่ในขณะเดียวกันตัวอ่อนก็จะรอกคาบเป็นตัวเต็มวัยช้ากว่าปกติครับ.เรามาดูทางด้านความชื้นกันบ้างความชื้นนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญมากเช่นกันสำหรับการอยู่รอดของตัวอ่อนเพราะถ้าสถานที่อยู่เกิดชื้นแฉะเกินไปก็อาจทำให้ตัวอ่อนตายได้หรือตัวอ่อนอาจเกิดเป็นโรคลายจุดและแน่นอนครับถ้าสถานที่อยู่เกิดแห้งเกินไปก็ไม่ดีต่อตัวอ่อนเช่นกันดังนั้นการเปลี่ยนอาหารให้ตัวอ่อนนั้นต้องดูเรื่องความชื้นเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ควรชื้นเกินไปและแห้งเกินไปครับ.
การผสมพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นด้วงคีม ด้วงกว่าง ด้วงดอกไม้หรือด้วงชนิดอื่นๆก่อนที่เราจะเพาะเราก็ต้องนำด้วงมาผสมพันธุ์กันก่อนครับวิธีการผสมพันธุ์ด้วงมีอยู่หลายวิธีแล้วแต่ถนัดเลยครับแต่ผมจะขอแนะนำว่าให้ใช้วิธีนี้ครับก่อนอื่นควรหาตู้ผสมพันธุ์ ที่มีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไปครับแล้วแต่ชนิดของด้วงแต่ล่ะชนิดครับสามารถใช้ตู้ปลาที่ขายตามร้านขายปลาทั่วไปหรือกล่องพลาสติกที่สามารถหาซื้อได้ตามห้างทั่วไปครับหลังจากที่ได้ตู้ผสมพันธุ์มาแล้วควรจะหาวัสดุปูพื้นให้ด้วงครับเพราะถ้าไม่มีวัสดุปูพื้นอาจทำให้ด้วงเดินไม่สดวกและอาจะทำให้ขาด้วงหักได้ครับวัสดุปูพื้นสามารถหาซื้อได้ที่ www.siambeetle.com  ครับหรือจะใช้เป็นดินปลูกต้นไม้ก็ได้ครับแล้วแต่สดวก,เอาหละครับหลังจากที่อุปกรณ์ครบแล้วก็มาต่อกันเลยครับ ก่อนอื่นนำปูพื้นหรือดินปลูกต้นไม้ที่ได้มาไปผสมน้ำครับให้ชื้นพอประมานหรือถ้าชื้นอยู่แล้วก็ไม่ต้องผสมเพิ่มครับ  ปูพื้นบางๆในตู้สูงประมาน 2-3เซนติเมตร กำลังดีครับแล้วแต่ขนาดของด้วง(ควรหาเศษชิ้นไม้หรือมอสขาวมาวางเผื่อเพื่อกันด้วงหงายท้องครับ)จากนั้นนำตัวผู้และตัวเมียใส่ลงไปในตู้ผสมพันธุ์เลยครับ อย่าลืมใส่อาหารของด้วงลงไปด้วยนะครับพวกผลไม้สุกหรือเยลลี่ปีโป้ก็ได้ครับรอให้ตัวผู้และตัวเมียอยู่ด้วยกันเองประมาน5-7วันครับแล้วจึงสามารถนำตัวเมียแยกออกไปเพาะในตู้อื่นได้ในกรณีที่กลัวว่าตัวผู้จะทำร้ายตัวเมียระหว่างอยู่ในตู้ผสมพันธุ์โดยเฉพาะด้วงคีมที่มีนิสัยดุเช่นพวกด้วงคีมฟันเลื่อยต่างๆ(Dorcus titanus ssp. )สามารถหาลวดมาพันคีมของตัวผู้ได้ครับ(ตามรูป),ส่วนในกรณีของด้วงกว่างจะผสมง่ายกว่าด้วงคีมครับไม่จำเป็นต้องมาอยู่ด้วยกันนานถึงหนึ่งอาทิตย์ก็ได้ลองจับตัวผู้มาอยู่ใกล้ๆตัวเมียครับถ้าผสมแล้วก็ไม่จำเป็นต้องจำไปอยู่รวมกันครับสามารถจับตัวเมียแยกออกมาเพาะได้เลยครับปกติแล้วด้วงกว่างจะใช่เวลาผสมพันธุ์ประมาน 20-60นาทีครับถ้าเป็นด้วงคีมจะใช้เวลาผสมพันธุ์เพียง3-10นาทีโดยประมานครับ เราจะเริ่มนับเวลาเมื่ออวัยวะเพศของตัวผู้เข้าไปในท้องของตัวเมียแล้วเท่านั้นครับโดยปกติแล้วถ้าอวัยวะเพศของตัวผู้เข้าไปในท้องของตัวเมียแล้วถือว่าผสมติดครับแต่ต้องรอให้ตัวผู้นำอวัยวะเพศออกมาเองนะครับถ้าตัวเมียเกิดหนีระหว่างผสมอาจผสมไม่ติดครับ     
ด้วงคีมพาลาวัน(Dorcus palawanicus palawanicus)ที่ถูกมัดคีมไว้ระหว่างเข้าตู้ผสมพันธุ์ขอขอบคุณรูปจากหนังสือFor the Love of RHINOCEROS and STAG BEETLES 《沉醉兜锹》จากไต้หวัน(台湾)  http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/3_zps090d42da.jpg

ด้วงคีมทองโรเซ็นฯ(Allotopus rosenbergi rosenbergi)ขณะผสมพันธุ์ใช้เวลาเพียง4-5นาที http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_8506copy_zps78e787d8.jpg

ด้วงกว่างซางเหนือ(Eupatorus gracilicornis)ขญะผสมพันธุ์ ผสมนานกว่า40นาทีhttp://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/Picture0113_zpsa764c000.jpg
ด้วงกว่าง(Dynastinae)และด้วงดอกไม้(Cetoniinae) ด้วงกว่างและด้วงดอกไม้บางชนิดจัดถือได้ว่าเป็นด้วงที่เพาะง่ายที่สุดในบรรดาด้วงที่นิยมเลี้ยงที่สุดแล้วครับไม่ว่าจะเป็นการผสมพันธ์ การวางไข่ที่ไม่ต้องใช้ไม้ผุ การเลี้ยงตัวอ่อน ฯลฯ  เหมาะสำหรับนักเพาะมือใหม่อย่างยิ่ง    ดังนั้นไครที่อยากลองเพาะด้วงก็สามารถหาด้วงกว่างของไทยราคาไม่แพงมาลองเพาะกันก่อนก็ได้ครับ  ชนิดที่แนะนำสำหรับนักเพาะด้วงมือใหม่ 1.กว่างชน(Xylotrupes Gideon  ssp.) 2.กว่างญี่ปุ่นหรือมูชิคิง(Trypoxylusdichotomus spp.)ถึงจะชื่อกว่างญี่ปุ่นแต่ก็สามารถหาได้ในประเทศไทยครับ3.ด้วงแรดมะพร้าว(Oryctes rhinoceros) เป็นต้น
กว่างญี่ปุ่นหรือมูชิคิงจากประเทศจีน(Trypoxylus dichotomus spp.)http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_3205copy_zps8abc3ee0.jpg

กว่างชนจากประเทศอินโดนีเซีย(Xylotrupes Gideon  ssp.)http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/sam_0531_844_zps3a679887.jpg

ด้วงดอกไม้โปลิเฟสมันจากแอฟฟริกา(Mecynorhina polyphemus)เป็นด้วงที่สามารถเพาะได้ง่ายมากเลยทีเดียวครับhttp://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_2734_zps04047f61.jpg

ด้วงคีม(Lucanidae)    ในวงศ์ของด้วงคีม(Lucanidae)เองก็สามารถแบ่งได้เป็นหลายกลุ่มเลยทีเดียวครับซึ่งในแต่ล่ะกลุ่มนี้จะมีวิธีเพาะที่แตกต่างกันไปครับเราจะแบ่งเป็นสองประเภทนะครับระหว่างการวางไข่ในไม้ผุและการวางไข่ในดินครับ แต่ปกติแล้วด้วงคีมจะวางไข่ในไม้ผุซะส่วนใหญ่ดังนั้นเรามาดูกลุ่มด้วงคีมที่ไข่ในดินเหมือนพวกด้วงกว่างกันเถอะครับกลุ่มด้วงคีมที่วางไข่ในดินมีดังนี้: กลุ่มด้วงคีมนีโอฯ(Neolucanussp.),กลุ่มด้วงคีมโอดอนฯ(Odontolabissp.)และกลุ่มด้วงด้วงคีมร่อง(Aegus sp.)เป็นต้นแน่นอนครับอาจจะยังมีด้วงคีมบางกลุ่มที่สามารถไข่ในดินได้อีกเช่นกันแต่ส่วนใหญ่ที่จะพบบ่อยๆมักจะเป็นสามกลุ่มพวกนี้ครับ        ชนิดที่ด้วงคีมที่แนะนำสำหรับนักเพาะเลี้ยงมือใหม่ 1.ด้วงคีมร่องเก่า(Aeguschelifer chelifer วางไข่ในดิน) 2.ด้วงคีมฟันเลื่อยธรรมดา(Serrognathusplatymelus platymelusวางไข่ในไม้ผุ)หรือด้วงคีมฟันเลื่อยใต้(Dorcustitanus titanusวางไข่ในไม้ผุ)3.ด้วงคีมแดงธรรมดา(Prosopocoilusastacoides astacoidesวางไข่ในไม้ผุ)เป็นต้น
ด้วงคีมฟันเลื่อยเหนือหรือด้วงคีมฟันเลื่อยธรรมดา(Serrognathus platymelus platymelus)http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_2227copy_zps23fe10ee.jpg

ด้วงคีมฟันเลื่อยใต้(Dorcus titanus titanus)จะมีลักษณะคีมที่หนากว่าด้วงคีมฟันเลื่อยธรรมดาครับhttp://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_9250_zps4bda75a6.jpg

pun0007za โพสต์เมื่อ 2012-2-28 08:36:58

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย pun0007za เมื่อ 2013-7-29 00:39

         วิธีการเพาะด้วงคีมที่วางไข่ในดินด้วงกว่าง และด้วงดอกไม้รวมถึงการดูแลตัวอ่อน
การเพาะด้วงคีมที่ไข่ในดินพวกด้วงกว่างและด้วงดอกไม้บางชนิด นั้นสามารถใช้วิธีเดียวกันได้เลยครับสำหรับตู้วางไข่สามารถใช้เป็นตู้ปลาหรือตู้พลาสติกเหมือนกับตู้ผสมพันธุ์ก็ได้ครับแต่ตู้วางไข่นี้จะขอเน้นความสูงเยอะหน่อยครับอย่างน้อยขอให้มีความสูงไม่ต่ำกว่า15เซนติเมตรครับ  เรามาดูอุปกรณ์กันดีกว่าว่าต้องการอะไรบ้างนะครับ1.ตู้วางไข่ที่เน้นความสูงไม่ต่ำกว่า15เซนติเมตร2.อาหารตัวอ่อนของด้วงกว่างและวัสดุปูพื้นของด้วงกว่าง(หาซื้อได้ที่www.siambeetle.comมีหลายสูตรให้เลือกซื้อบางสูตรสามารถใช้ด้วยกันได้หรือตามเว็ปขายอุปกรณ์ด้วงทั่วไป)3.เยลลี่หรือผลไม้สุกสำหรับให้ด้วงกินเป็นอาหาร   วิธีจัดตู้ง่ายๆครับ นำวัสดุปูพื้นมาผสมน้ำก่อนครับผสมให้ชื้นกำลังพอดีครับอย่าชื้นเกินไป   แล้วอัดแน่นลงไปในตู้ให้สูง5เซนติเมตรโดยประมานครับต่อมานำน้ำมาผสมอาหารตัวอ่อนให้ชื้นกำลังพอดีเหมือนวัสดุปูพื้นครับแล้วใส่ลงไปเพิ่มอีก10-15เซนติเมตร(ตามรูป)โดยไม่ต้องอัดแน่นครับหลังจากนั้นก็หาเศษไม้หรือมอสขาวมาวางไว้ก็ได้ครับเพื่อกันด้วงหงายท้องและนำผลไม้สุกหรือเยลลี่วางไว้บนผิวอาหารครับ(ตามรูป)จากนั้นสามารถนำตัวเมียเข้ามาวางไข่ได้เลยประมาน1-2เดือนแล้วค่อยมารื้อตู้อีกทีครับอย่าลืมเปลี่ยนอาหารให้ทุกๆ3-4วันนะครับระหว่างด้วงวางไข่ไม่ควรยกตู้หรือขยับตู้เป็นอันขาตเพราะอาจไปรบกวนตัวเมียวางไข่ได้นอกจากจะเปลี่ยนอาหารให้เท่านั้นครับ.
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/Picture016copy_zps4b6c0263.jpg
ตกแต่งตามใจชอบครับ

http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/Picture017copy_zpsa9ca3ff9.jpg

หลังจากที่เราได้ปล่อยตัวเมียลงไปวางไข่ประมาน1-2เดือนเราก็สามารถที่จะรื้อตู้ค้นหาตัวอ่อนเพื่อแยกเลี้ยงตัวล่ะกระปุกครับเพื่อความปลอดภัยของตัวอ่อนควรจะรื้อตู้หลังจากที่ตัวเมียลงวางไข่แล้ว2เดือนขึ้นไปเท่านั้นครับ โดยปกติแล้วเราสามารถแบ่งระยะหนอนได้สามระยะครับได้แก่L1ระยะที่พึ่งออกมาจากไข่ L2ระยะที่รอกคาบต่อจากแอลหนึ่งและL3ระยะที่รอกคาบต่อจากแอลสองและเป็นระยะสุดท้ายก่อนที่จะเข้าสู่ระยะดักแด้ครับแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวอ่อนอยู่ในระยะอะไรบ้างนั้นขึ้นอยู่กับความกว้างของหัวกะโหลกตัวอ่อนและชนิดของด้วงด้วยครับเช่นกว่างสามเขา(Chalcosoma sp.) ในระยะL1ตัวอ่อนจะมีหัวกะโหลกที่กว้าง2mmL2จะมีหัวกะโหลกที่กว้าง8mmและL3จะมีหัวกะโหลกที่กว้าง13mm เป็นต้น.ก่อนที่เราจะรื้อตู้ควรหากระปุกใส่ตัวอ่อนสำรองไว้ด้วยนะครับหนึ่งกระปุกต่อหนึ่งตัวเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงตัวอ่อนทำร้ายกันเองครับขนาดของกระปุกก็แล้วแต่ชนิดของด้วงเลยครับว่าตัวใหญ่หรือเล็ก ถ้าเป็นด้วงกว่างญี่ปุ่นหรือมูชิคิง  รื้อออกมาแล้วเจอL1ควรหากระปุกขนาด200-300mlให้อยู่ครับ เจอL2ควรหากระปุกที่มีขนาดประมาน500mlครับ เจอL3ควรหากระปุกขนาด 900-1000mlขึ้นไปครับ กระปุก1000ml สามารถเลี้ยงได้จนถึงระยะเข้าดักแด้โดยไม่ต้องเปลี่ยนกระปุกอีกแต่สำหรับด้วงที่ทำรังดังแด้แนวตั้งเช่นกว่างญี่ปุ่นกระปุกควรมีความสูงไม่ต่ำกว่า 10เซนติเมตรครับ เปลี่ยนอาหารตัวอ่อน1-1.5เดือนต่อครั้งแล้วแต่ความต้องการตัวอ่อนครับ(ถ้าอุจจาระของตัวอ่อนเยอะเกินไปสามารถเปลี่ยนได้ทันทีครับ).ถ้าเป็นด้วงคีมชนิดที่มีขนาดเล็กก็สามารถเลือกใช้ประปุกที่มีขนาด 100-500mlเช่นพวกด้วงคีมร่องเก่าเป็นต้น. สำหรับชนิดที่มีขนาดใหญ่หรือปลานกลางสามารถเลือกได้ตั้งแต่200-1000mlครับเช่น ด้วงคีมซิว่าเป็นต้น.ด้วงคีมที่ชอบวางไข่ในดินจะไม่ชอบกินเชื้อเห็ดหรืออาหารที่มีการผสมไม้ผุไม้บทที่มากไป ฯลฯ ดังนั้นเวลาให้อาหารตัวอ่อนด้วงคีมกลุ่มนี้ควรใช้เป็นอาหารของกว่างหรือสูตรเฉพาะครับ.
วิธีการเพาะด้วงคีมที่ไข่ในไม้ผุและการดูแลตัวอ่อน   ก่อนอื่นเราต้องมาเตรียบอุปกรณ์กันก่อนครับว่าต้องการอะไรบ้าง,1.วัสดุปูพื้นด้วงคีม2.ขอนไม้ผุสำหรับวางไข่(สามารถหาซื้อได้ที่www.siambeetle.com มีหลากหลายไซต์ให้ทุกคนได้เลือกครับ)
3.ตู้วางไข่ที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า15cm(สามารถใช้เป็นตู้ปลาหรือตู้พลาสติกตามที่กล่าวไปด้านบน) 4.เยลลี่หรือผลไม้สุกเพื่อให้ด้วงกินเป็นอาหารหลังจากที่เราเตรียบอุปกรณ์ครบแล้วเราก็มาเริ่มกันเลยครับนำไม้ผุที่เตรียบสำหรับเพาะไปแช่น้ำโดยให้ท่อนไม้ทั้งท่อนแช่อยู่ใต้น้ำ12ชั่วโมงหรือประมาน1คืน(ตามรูป)ห้ามให้ไม้ผุลอยขึ้นมาบนผิวน้ำเป็นอันขาตครับเพราะว่าไม้จะไม่สามารถดูดน้ำเข้าไปได้ไม่เต็มที่ครับ
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/kkkk1ll1hh_zpse30af504.jpg
หลังจากนั้นนำไม้ผุมาตากไว้ในที่มืดสามารถใช้ผ้าขนหนูหรือกระดาษหนังสือพิพพ์ห่อไว้ครับก่อนลงตู้เพาะสามารถนำเปลือกไม้ด้านนอกตัดออกได้ครับเพื่อจะได้เป็นการประหยัดพลังงานของตัวเมียในการวางไข่,ต่อมาผสมวัสดุปูพื้นกับน้ำให้ชื้นกำลังพอดีแล้วอัดแน่นลงไปในตู้วางไข่ 5cmครับและนำไม้ผุที่ผ่านการแช่และตากแล้วมาวางไว้ซัก1-3ท่อนครับแล้วนำวัสดุปูพื้นมากลบท่อนไม้ผุให้เหลือแค่1/3ของไม้ผุครับและตามด้วยเยลลี่หรือผลไม้สุกวางไว้เพื่อให้ด้วงกินเป็นอาหาร(ตามรูป)
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/kkkk1ll_zps4e757932.jpg
หลังจากนั้นก็สามารถนำตัวเมียที่ผสมพันธุ์แล้วมาวางไข่ได้เลยครับหลังจากนั้นก็รอไปอีก2เดือนแล้วจึงจะสามารถรื้อตู้ได้พยายามหลีกเลี่ยงหรือห้ามขยับตู้วางไข่เป็นอันขาตครับเพราะอาจทำให้ตัวเมียตกใจแล้วไม่ยอมไข่ครับยกเว้นจะเปลี่ยนอาหารให้ด้วงตัวเมียทุกๆ3-4วันครับ เรามาดูการรื้อตู้วางไข่กันเถอะครับปกติแล้วด้วงคีมจะเจาะไม้ผุเป็นรูประมาน5-10mmเพื่อวางไข่(ตามรูป)

ไข่ของด้วงคีมฟันเลื่อยที่ผมเคยเพาะไว้ครับhttp://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_1015copy_zps16bf8c9e.jpg
สำหรับคนที่ใจร้อนก็สามารถรื้อตู้ได้เลยหลังจากที่ด้วงวางไข่ประมาน1เดือนเศษครับส่วนใหญ่จะมักจะเจอตัวอ่อนL1และไข่ครับ  แต่ผมแนะนำว่าดีที่สุดควรจะรอ2เดือนขึ้นไปเพื่อความปลอดภัยของตัวอ่อนเรามาเริ่มรื้อตู้กันได้ครับจะสังเกตุได้ว่าตัวเมียนั้นทำตู้ไว้ค่อนข้างรกมากๆจะเห็นเป็นรอยเจาะไม้บ้างรอยโพรงบ้างฯลฯ ,หยิบขอนไม้ผุวางไข่ขึ้นมาค่อยๆใช้มีดหรือไขควงค่อยๆแคะๆตามรอยที่ตัวเมียไข่ไว้ครับหรือจะผ่าไม้เลยก็ได้ครับ (ตามรูป) ขอขอบคุณรูปทั้งสองจากหนังสือ For theLove of RHINOCEROS and STAG BEETLE http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/images2_zps4e63d1e6.jpeg

ตัวอ่อนจากไม้ผุวางไข่ของด้วงคีมhttp://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/1081685_630387683647379_1609675563_n_zps4e181556.jpg

ระหว่างหาต้องระวังเป็นพิเศษนะครับอาจไม่ระวังไปแทงตัวอ่อนอาจตายได้ยครับ.      เรามาดูทางด้านตัวอ่อนของด้วงคีมกันบ้างนะครับปกติแล้วด้วงคีมที่ไข่ในไม้ผุส่วนใหญ่ตัวอ่อนจะชอบกินเชื้อเห็ดมากๆครับ สำหรับนักเพาะด้วงบางท่านอาจจะกำลังสับสนว่าจะใช้อะไรให้ตัวอ่อนด้วงคีมกินดี?เชื้อเห็ดหรือไม้ผุบท อะไรจะดีกว่ากันนะ?ผมตอบได้เลยครับว่าเชื้อเห็ดดีกว่าแน่นอนครับแต่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของด้วงด้วยครับบางชนิดชอบกินเชื้อเห็ดบางชนิดก็ไม่ชอบกินเชื้อเห็ดครับถึงแม้เชื้อเห็ดจะเลี้ยงได้ตัวโตขนาดใหญ่กว่าพวกไม้ผุบทก็ตามแต่มันก็มีข้อเสียครับถ้าพื้นที่อุณภูมิที่เพาะเลี้ยงตัวอ่อนสูงกว่า30องศาหรือต่ำกว่า20องศาก็จะทำให้เชื้อเห็ดที่เลี้ยงตัวอ่อนเกิดอาการบูดหรือเสียครับ(ในรูปเป็นเชื้อที่ทิ้งไว้ในอากาศที่เย็นเกินไปครับ)
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_8451_zps40a29149.jpg

แน่นอนครับหลังจากที่เชื้อเสียแล้วตัวอ่อนก็จะตายไปด้วยเช่นกัน(ดีที่สุดควรจะอยู่ที่26องศาครับ)ดังนั้นไครที่ไม่สามารถคุมอุณภูมิได้ก็ขอให้ไปเลือกใช้ไม้ผุบทหรืออาหารตัวอ่อนที่ขายสำเร็จทั่วไปจะดีกว่าครับสำหรับขนาดกระปุกที่เลี้ยงตัวอ่อนเราจะแบ่งเป็นสองประเภทได้แก่การเลี้ยงตัวอ่อนโดยเชื้อเห็ดและการเลี้ยงตัวอ่อนโดยไม้ผุบทหรืออาหารตัวอ่อนสำเร็จครับถ้าเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดแน่นอนครับต้องคุมอุณภมิให้ได้ไม่เกิน30องศาครับ26ถือว่าดีที่สุดสำหรับขนาดของกระปุกเชื้อเห็ดที่เราสามารถหาซื้อได้วันนี้ก็จะมี 850cc เป็นเชื้อเห็ดนางฟ้าจากwww.siambeetle.comครับ.
รูปด่านล่างนี้เป็นรูปเชื้อเห็ดนำเข้าจากญี่ปุ่นขนาด1400cchttp://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_8444_zpsb1f06df5.jpg  
    ปกติแล้วถ้าต้องการให้ตัวอ่อนกินเชื้อเห็ดควรให้ตัวอ่อนเข้าระยะL2ไปแล้วเท่านั้นครับเพราะถ้าเป็นระยะL1ตัวอ่อนจะมีภูมิต้านทานน้อยอาจเกิดอาการไม่ชินและตายในที่สุดครับ. ดังนั้นในขณะที่ด้วงของเรามีขนาดL1ควรจะหากระปุกที่มีขนาดประมาน200-300mlใส่ไม้ผุบทหรืออาหารสำเร็จรูปให้ด้วงอยู่กินไปก่อนจนเข้าL2ครับหลังจากนั้นก็สามารถเปลี่ยนเป็นเชื้อเห็ดขนาด650ccก็ได้ครับ รอจนกว่าด้วงจะกินเชื้อหมดประมาน70%  แล้วค่อยเปลี่ยนกระปุกใหม่ สังเกตุง่ายๆว่าถ้ากระปุกเชื้อเห็ดกลายเป็นสีกาแฟประมาน70%ก็สามารถเปลี่ยนกระปุกได้แล้วครับ ถ้าเป็นตัวอ่อนเป็นเพศเมียให้ใช้เป็น650ccต่อครับแต่ถ้าเป็นตัวผู้สามารถใช้เป็นขนาด1400ccได้เลยครับเปลี่ยนกระปุกเมื่อไหรนั้นขึ้นอยู่กับตัวด้วงแล้วหละครับว่าจะกินหมดเมื่อไหรโดยเฉลี่ยแล้ว1400ccจะได้ประมาน 1.5-2 เดือนเปลี่ยนหนึ่งครั้งครับสำหรับ650ccจะอยู่ที่1-1.5 เดือนครับแล้วแต่ขนาดและชนิดของด้วงครับ.ต่อมาจะเป็นการเลี้ยงตัวอ่อนโดยการใช้ไม้ผุบทหรืออาหารตัวอ่อนด้วงคีมสำเร็จรูปครับวิธีนี้ง่ายๆคล้ายกับวิธีการเลี้ยงตัวอ่อนของพวกด้วงกว่างครับ.L1 ควรจะใช้กระปุกที่มีขนาด200-300ml,L2ควรใช้กระปุกที่มีขนาด 500-600ml,L3 ควรใช้900-1000mlขึ้นไปครับ เฉลี่ยแล้วเปลี่ยนอาหาร1-1.5เดือนต่อหนึ่งครั้งแล้วแต่ความต้องการของตัวอ่อนว่าจะกินมากน้อยแค่ไหน.   เพียงแค่นี้การเพาะด้วงก็จะไม่ยากอีกต่อไปครับ.รูปภาพของกระปุกสำหรับเลี้ยงตัวอ่อนไซต์ต่างๆครับ
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/images1_zps91d1ad8b.jpeg

ควรแยกเลี้ยงหนอนกระปุกละตัวเพื่อไม่เป็นการแย่งอาหารและหลีกเลี่ยงการต่อสู้ในภาพนี้เป็นตัวอ่อนของด้วงดอกไม้โปลิเฟมัส(Mecynorhina polyphemus)ระยะL3ทั้งหมดครับ
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_7538_zpsa6d6337e.jpg
ใส่อาหารให้เรียบร้อยครับhttp://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_8330copy_zps0ae087c5.jpg
รูปตัวอ่อนด้วงคีมฟันเลื่อยธรรมดาในระยะL3
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/sam_0566_206copy_zps6c69624b.jpg
รูปด่านล่างจะเป็นอุปกรณ์เลี้ยงด้วงต่างๆครับได้แก่อาหารด้วงคีมสำเร็จรูปจากWilly Bugs(ร้านขายอุปกรณ์ด้วงชื่อดังจากประเทศจีน)เชื้อเห็ดสำหรับตัวอ่อน กระปุกสำหรับใส่ตัวอ่อนและเยลลี่สำหรับตัวเต็มวัยนำเข้าจากญี่ปุ่นโดยพี่หนุ่ม(FB:Esan Insect)
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_7498_zps82899297.jpg



http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/1004643_490414871044079_1280549392_n_zps65d2a32f.jpg

pun0007za โพสต์เมื่อ 2012-2-28 09:18:13

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย pun0007za เมื่อ 2013-7-29 00:44

การดูแลดักแด้และการทำโพรงเทียมรวมถึงการดูแลตัวเต็มวัยเบื้องต้น   หลังจากที่เราได้ทราบวิธีการเพาะด้วงแต่ล่ะชนิดแล้วรวมถึงการเลี้ยงตัวอ่อนเรามาดูทางด้านดักแด้กันบ้างนะครับดักแด้นั้นเป็นช่วงที่ค่อนข้างจะอ่อนแอที่สุดในแต่ล่ะระยะแล้วหละครับดังนั้นการที่เราจะหยิบดักแด้มาดูถ่ายรูปหรือเครื่อนที่กระปุกควรจะทำให้น้อยที่สุดครับโดยเฉพาะการถ่ายรูปห้ามใช้เฟลชเด็จขาตครับเพราะอาจทำให้ดักแด้ตกใจและตายได้.สำหรับนักเพาะมือใหม่มักจะสงสัยว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าด้วงจะใกล้เข้าดักแด้แล้ว?สังเกตุได้ไม่ยากครับ ไม่ว่าจะเป็นด้วงคีม ด้วงกว่าง หรือด้วงดอกไม้เมื่อใกล้เข้าดักแด้ สีของตัวอ่อนจะเปลี่ยนเป็นสีที่เข้มขึ้นครับและตัวอ่อนจะมีการเคลื่อนไหวที่ช้าลงครับเช่นด้วงกว่างจะออกเป็นสีเหลืองได้อย่างชัดเจนยิ่งใกล้เข้าดักแด้มากเท่าไหรก็จะเหลืองมากขึ้นหรือสีเข้มมากขึ้นครับปกติแล้วด้วงส่วนใหญ่มักจะสร้างโพรงเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนแล้วแต่ชนิดเพื่อเป็นที่สำหรับรอกคาบเข้าสู่ระยะดักแด้ครับแต่ด้วงบางชนิดก็จะทำเป็นกระเปาะเล็กๆและรอกคาบภายในกระเปาะที่สร้างไว้ครับครับเช่นพวกกลุ่มด้วงดอกไม้(Cetoniinae sp.)กลุ่มด้วงคีมโอดอนฯ(Odontolabis sp.)และพวกกว่างสามเขา(Chalcosoma sp.)เป็นต้นครับ ,สำหรับนักเพาะเลี้ยงที่เกิดไม่ระวังทำโพรงดักแด้ที่ตัวอ่อนสร้างไว้พังหรือต้องการถ่ายรูปดักแด้สามารถทำโพรงเทียมให้กับตัวอ่อนได้ครับโดยการใช้โอเอซิส(หาซื้อได้ตามร้านที่ขายดอกไม้เทียมหรือสดทั่วไปครับ)วิธีทำง่ายๆครับ โดยการให้ช้อนขูดให้เป็นโพรงพยายามทำเลียนโพรงแบบธรรมชาติให้เหมือนที่สุดเพราะว่าถ้าไม่เท่ากันอาจทำให้ด้วงที่รอกคาบออกมามีปีกที่ไม่สวยครับหรือถึงอาจรอกคาบไม่ผ่านเลยก็เป็นได้ครับเราสามารถทำโพรงได้สองแบบครับได้แก่1.โพรงแนวตั้งสำหรับด้วงที่ทำโพรงเป็นแนวตั้งครับเช่นกว่างญี่ปุ่น กว่างชนฯลฯ 2.โพรงแนวนอนครับสำหรับด้วงคีมทั่วไปและด้วงที่เข้าระยะดักแด้ในกระเปาะครับเช่นกว่างสามเขา(Chalcosoma sp.)และพวกด้วงดอกไม้ (Cetoniinae sp.)   เป็นต้นหลังจากที่ใช้ช้อนทำเป็นโพรงเสร็จแล้วให้ใช้นิ้วขูดๆลูปๆเพื่อให้ผิวของโอเอซิสเนียครับ(ตามรูป)ด้านซ้ายเป็นโพรงสำหรับด้วงที่เข้าดักแด้แนวนอนและด้านขวาเป็นโพรงสำหรับด้วงที่เขาดักแด้แนวตั้งครับ  

http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_9308_zpsb007f55f.jpg

แค่นี้เราก็จะได้โพรงดักแด้ที่สวยงามแล้วครับ(ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรนำดักแด้ออกมาจากโพรงของแท้นอกเสียจากไม่ระวังทำโพรงเสียหรือต้องการถ่ายรูป).สำหรับนักเพาะมือใหม่หลายคนอาสงสัยว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าดักแด้นั้นจะรอกคาบเป็นตัวเต็มวัย?สามารถสังเกตุได้เหมือนกันครับ หลังจากที่ด้วงเข้าสู่ระยะดักแด้แล้วสีของดักแด้ก็จะเข้มขึ้นเรื่อยๆครับก็หมายความว่าถ้าสีของดักแด้ยิ่งเข้มมากเท่าไหรก็ยิ่งใกล้วันรอกคาบของระยะดักแด้เข้าสู่ตัวเต็มวัยครับ(ตามรูป)ขอขอบคุณรูปจากหนังสือMOOKหรือBEKUWA เล่มที่7ครับในภาพเป็นรูปของตัวอ่อนที่เพิ่งเข้าระยะดักแด้และใกล้เข้าสู่ระยะตะวเต็มวัยครับ http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/1145copy_zpsacb99345.jpg
  
เฉลี่ยระยะเวลาของดักแด้แล้วประมาน25วันถึง1เดือนขึ้นไปแล้วแต่ชนิดของด้วงครับ.หลังจากที่ดักแด้เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยได้สมบูรณ์แล้วด้วงจะทำการพักตัวและในขณะพักตัวนั้นด้วงจะไม่กินอาหารครับจะกินก็ต่อเมื่อพร้อมแล้วเท่านั้นสามารถหากล่องพลาสติกหรือตู้ปลาขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ใช้กระดาษทิชชู่หรือวัสดุปูพื้นรองพื้นครับให้ด้วงอยู่ไปก่อนเมื่อไหรที่ด้วงพยามที่จะออกจากกล่องหรือพยามบินแสดงว่าด้วงพร้อมที่จะกินอาหารและผสมพันธุ์แล้วครับ.สำหรับดักแด้ที่อยู่ในโพรงธรรมชาติปกติควรรอจนกว่าด้วงจะมีอาการต้องการออกจากกระปุกเองจึงจะสามารถนำอาหารให้กินได้และการผสมพันธุ์.
การป้องกันโรคลายจุดของตัวอ่อนและการรักษาสำหรับนักเพาะด้วงมือใหม่อาจจะสงสัยว่าทำไมตัวอ่อนที่เลี้ยงอยู่เกิดลายจุดสีดำแปลกๆขึ้นมาตามผิวของตัวอ่อน?โรคลายจุดสามารถเกิดได้หลากหลายประการมากๆครับแต่ประเด็นส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเจออยู่ไม่หน้าเกินสองประเภทครับได้แก่ 1.ดินหรืออาหารตัวอ่อนชื้นเกินไปดังนั้นเวลาตอนผสมอาหารตัวอ่อนควรจะไม่ให้ชื้นเกินไปครับ2.นำอาหารเก่ามาเลี้ยงซึ่งอาจจะมีสิ่งสกปรกอยู่ในอาหารของตัวอ่อนครับเช่นอาหารเหลือจากการเปลี่ยนอาหารไม่ควรใส่ลงไปครับอาจใส่ลงไปนึดหน่อยสำหรับคนที่จะเปลี่ยนสูตรอาหารเพื่อให้ด้วงทำความคุ้นเคยกับอาหารสูตรใหม่ครับหรือถ้าเป็นอาหารที่ไม่ได้ใช้แต่ทิ้งไว้เป็นเวลานานควรจะนำไปตากแดดหรือเข้าตู้อบฆ่าเชื้อโรคก่อนนำมาใช้ครับ.แล้วโรคลายจุดนั้นมันมีความอันตรายขนาดไหน?ส่วนใหญ่แล้วตัวอ่อนที่ติดโรคนี้ จะมีอาการซูบผอมลงครับผมเคยเลี้ยงหนอนด้วงกว่างเฮอร์คิวลิสแล้วติดโรคนี้ครับจาก40gลดลงไปเหลือเพียงแค่20gครับและก็ตายในที่สุดรูปนี้เป็นรูปหนอนกว่างเฮอร์คิวลิสที่ติดโรคลายจุดระยะแรกๆครับ
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/121_zps10cd3367.jpg
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/131_zps7d9748f7.jpg
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/IMG_8348copy_zps2fd93b1d.jpg
ในบางกรณีก็สามารถเลี้ยงออกมาจนเป็นตัวเต็มวัยครับเช่นกันครับแต่ปกติแล้วจะรอกคาบไม่ผ่านระยะเข้าดักแด้หรือตอนรอกคาบเป็นตัวเต็มวัยถึงจะรอกได้ก็อาจจะได้เพียงครึ่งตัวเท่านั้นครับดังนั้นรู้แบบนี้แล้วเรามาดูวิธีแก้กันเถอะครับ 1. นำตัวอ่อนล้างน้ำครับอุณภูมิน้ำห้ามเย็นไปและร้อนไปครับ(25-30) 2. ใช้กระปุกใหม่ อาหารใหม่เลี้ยงตัวอ่อนควรผสมให้แห้งกว่าปกตินึดหน่อยครับอาหารเก่านำไปทิ้งได้เลยครับ    3.นำน้ำยาฟอกขาวฆ่าเชื้อในกระปุกเก่าแช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงแล้วถึงจะนำกระปุกเก่าไปใช้ต่อได้  เนื่องจากโรคลายจุดเป็นโรคติดต่อดังนั้นไม่ควรนำกระปุกที่ติดเชื้อให้ตัวอ่อนตัวอื่นใช้ต่อถ้จำเป็นต้องใช้ต่อควรนำไปฆ่าเชื้อก่อนใช้ครับนอกจากนี้ควรล้างมือเสอมหลังจากที่จับตัวอ่อนที่เป็นโรคลายจุดเพราะถ้าไปจับตัวอ่อนตัวอื่นๆอาจติดโรคลายจุดได้ครับ.   หลังจากที่ทำตามขั้นตอนทั้งหมดแล้วให้รอดูอาการต่อไปอีกสองอาทิตย์ครับถ้าจุดบนตัวอ่อนหยุดเพิ่มหรือลดลงก็แสดงว่าการรักษาสำเร็จครับหรือมีโอกาศรอดสูงครับแต่ถ้าลายจุดเพิ่มขึ้นก็ดูอาการต่อไปเรื่อยๆครับถ้าหลังจากนี้อีกสองอาทิตย์ลายจุดบนตัวด้วงยังไม่หยุดเพิ่มโอกาศรอดก็จะน้อยมากๆครับ,ตัวอ่อนจะรอดหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับโชคแล้วหละครับเพราะเรารักษาได้เต็มที่เท่านี้ครับ.

วิธีการแยกเพศของตัวอ่อน    สำหรับนักเพาะเลี้ยงมือใหม่ต้องส่งสัยมากแน่ๆครับว่าตัวอ่อนนั้นดูเพศอย่างไร?  สังเกตุง่ายๆครับ ถ้าเป็นตัวอ่อนด้วงกว่างตัวผู้หรือด้วงดอกไม้ตัวผู้นั้นจะมีขีดหรือจุดอยู่ท้องปล้องที่สามขนาดประมาน0.5mmนับจากด่านล่างสุดขึ้นมาครับแต่ถ้าเป็นตัวอ่อนตัวเมียจะไม่มีครับและจะจุดหรือขีดที่ว่านี้สามารถมองเห็นได้หลังจากเข้าระยะแอลสามไปซักพัคแล้วเท่านั้นครับ(ตามรูป)บางชนิดอาจมองเห็นได้ในระยะแอลสองแต่ไม่ชัวร์จะสามารถดูได้ชัวร์100%นั้นต้องเข้าระยะแอลสามไปแล้วเท่านั้น มาดูทางด้านตัวอ่อนของด้วงคีมกันบ้างนะครับ  ตัวอ่อนของด้วงคีมนั้นสามารถแบ่งเพศได้100%ตอนเข้าระยะแอลสามไปซักพัคแล้วเช่นกันกับด้วงกว่างครับ สังเกตุได้ง่ายๆว่าถ้าตัวอ่อนตัวเมียจะมีก้อนกลมๆลักษณะเหมือนรังไข่อยู่ในท้องครับ(ตามรูป)แต่ถ้าเป็นตัวผู้จะไม่มีครับ ขอจบบทความเพียงเท่านี้ ขอให้ทุกโชคดีครับ ขอบคุณครับ  
ขอขอบคุณรูปภาพดีๆจากหนังสือ For the Love of RHINOCEROS and STAG BEETLES อีกเช่นเคยครับ

รูปตัวอ่อนด้วงกว่างเฮอร์คิวลิสเพศผู้
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/1_zpsfd36307b.jpg

รูปตัวอ่อนด้วงคีมเคอร์วิเดนส์เพศเมีย
http://i1058.photobucket.com/albums/t409/pun0007za/2_zpsdd71c13a.jpg

kritrt โพสต์เมื่อ 2012-2-28 09:22:29

อ่านแล้วอยากเป็นบรีดเดอร์

Nicholas โพสต์เมื่อ 2012-2-28 10:12:04

ไปเขียนหนังสือขายเหอะพี่ว่า เยอะโคตร

Gap โพสต์เมื่อ 2012-2-28 12:47:35

สุดยอดครับปั่นๆ

pun0007za โพสต์เมื่อ 2012-2-28 14:52:38

ต้นฉบับโพสต์โดย Gap เมื่อ 2012-2-28 12:47 static/image/common/back.gif
สุดยอดครับปั่นๆ

ขอบคุณครับแก็ป {:1_1:}

Beetles_Lover โพสต์เมื่อ 2012-2-28 15:25:01

เจ๋งเลยน้องพี่!! :D

admin โพสต์เมื่อ 2012-2-28 16:06:29

แหล่มๆ :victory:
ถ้ามีองค์ความรู้ครบ เหล่านักเพาะพันธุ์หน้าใหม่ๆจะมีตามมาอีกเพียบแน่ๆ
อาจจะเป็นคนที่กำลังอ่านกระทู้นี้ก็ได้

makihatayama โพสต์เมื่อ 2012-2-28 17:38:00

อ๋อค่ะ เป็นยั่งงี้ย์นี้ย์เอง
หน้า: [1] 2 3
ดูในรูปแบบกติ: มาเพาะด้วงกันเถอะ !! แก้ไขปรับปรุง29/07/2013