Siambeetle forum

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ดู: 2467|ตอบ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ช่วยดูทีนะครับผมก็ไปเอามาอิกทีเมือนกันชื่อบางอยางผมไม่เคยเห็นรูปไครมีรูปกว่าหนวดขาว [คัดลอกลิงก์]

Rank: 3Rank: 3

เวลาออนไลน์
44 ชั่วโมง
UID
701
เครดิต
455
ความเทพ
16
ประสบการณ์
365
ทองคำ
0
โพสต์
58
กระทู้
8
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-10-10
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2014-2-12
ลักษณะของกว่างตามการจำแนกของชาวล้านนา

-   1. กว่างโซ้ง คือ กว่างตัวผู้ขนาดใหญ่เขายาวและหนาทั้งข้างล่างข้างบนนิยมใช้ชนกัน  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

·       กว่างรัก คือกว่างโซ้งที่มีสีน้ำตาลแกมดำ

·       กว่างรักน้ำปู๋ เป็นกว่างที่มีสำดำสนิททั้งตัว

·       กว่างรักน้ำใส จะมีสีดำออกแดงน้ำตาลเล็กน้อย

-   2. กว่างกิ หมายถึงกว่างตัวผู้ที่มีเขาข้างบนสั้น (“กิ” แปลว่าสั้น)  เขาบนจะออกจากหัวออกมานิด  เดียว  จะต่อสู้หรือชนกันโดยใช้เขาล่างงัดกัน แต่ไม่อาจ “คาม” หรือใช้เขาหนีบคู่ต่อสู้ได้

-   3. กว่างแซม  มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ้ง แต่ตัวเล็กกว่าเล็กน้อย เขาก็สั้นและเรียวเล็ก ลำตัวสีน้ำตาลแดงกว่า  กว่างแซม เขาจะสั้นเท่ากันทั้งบนและล่าง ชอบส่งเสียง “ซี่ ๆ”

-   4. กว่างแม่อีลุ้ม หรือ กว่างแม่อีอู้ด หรือ กว่างแม่มูดหรือ กว่างแม่อีดุ้ม คือกว่างตัวเมีย

-   5. กว่างหนวดขาว เป็นกว่างในตำนาน เล่าขานว่ามีลักษณะเหมือนกับกว่างโซ้ง แต่หนวดจะมีสีขาว เป็นพญากว่าง จะชนะกว่างทุกตัว   

-   6. กว่างก่อ เป็นกว่างในตำนาน เช่นเดียวกับกว่างหนวดขาว  เล่ากันว่า กว่างชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ก่อ ลักษณะเด่นชัดของกว่างชนิดนี้คือตามตัวมีขน มีความแข็งแรงและอดทนมากกว่ากว่างโดยทั่วไป เจ้าของขัดให้ขนหลุดออกก่อนเพื่อหลอกฝ่ายตรงข้าม

-   7. กว่างงวง  เป็นด้วงงวงของภาคกลาง 2 ชนิด คือชนิดที่ชอบกินหน่อไม้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyrtotrachelus sp.   และอีกชนิดหนึ่ง คือ ชนิดที่กินยอดอ่อนมะพร้าวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchophorus ferrugineus  ทั้งสองชนิดมีขนาดเล็ก สีดำ ตรงปากจะมีส่วนยื่นเป็นงวงและไม่มีเขากว่างชนิดนี้ไม่มีการนำมาเลี้ยงเพื่อชนกัน

-   8. กว่างซาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eupatorus gracilicornis  เป็นกว่างขนาดใหญ่ สีของปีกออกไปทางสีครีมหรือสีหม่นมีเขา 5 เขา ข้างบนมี 4 เขา เรียงกันจากซ้ายไปขวาข้างล่างมี 1 เขา ไม่นิยมนำมาชนกันเพราะอืดอาดไม่แคล่วคล่องว่องไว ชนไม่สนุก

Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25

เวลาออนไลน์
1477 ชั่วโมง
UID
1
เครดิต
8072
ความเทพ
766
ประสบการณ์
4261
ทองคำ
201
โพสต์
1877
กระทู้
197
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-1-16
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2017-1-28
เข้าใจว่ากว่างหนวดขาวอาจจะเป็นความผิดพลาดทางพันธุกรรมของด้วงครับ
ส่วนกว่างขนน่าจะเป็นอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งน่าจะมีความคล้ายกับกว่างพูเบสเซนต์ของทางฟิลิปปินส์ครับ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา ซึ่งยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้
ถ้ามีการค้นพบและเปิดเผยภาพออกมา อาจจะมีการศึกษาและจำแนกลงไปได้ลึกกว่านี้ครับ

Rank: 3Rank: 3

เวลาออนไลน์
44 ชั่วโมง
UID
701
เครดิต
455
ความเทพ
16
ประสบการณ์
365
ทองคำ
0
โพสต์
58
กระทู้
8
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-10-10
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2014-2-12
ขอบคุณครับ

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เวลาออนไลน์
166 ชั่วโมง
UID
40
เครดิต
1872
ความเทพ
28
ประสบการณ์
1369
ทองคำ
0
โพสต์
447
กระทู้
16
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-2-3
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2014-9-15
ข้อมูลดีมากครับ
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รูปแบบข้อความล้วน|Siambeetle

GMT+7, 2024-5-6 18:09 , Processed in 0.013705 second(s), 9 queries .

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน