Siambeetle forum

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ดู: 9673|ตอบ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

บันทึกการเลี้ยงด้วงคีมสมันซินิคุส [คัดลอกลิงก์]

Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25

เวลาออนไลน์
1477 ชั่วโมง
UID
1
เครดิต
8072
ความเทพ
766
ประสบการณ์
4261
ทองคำ
201
โพสต์
1877
กระทู้
197
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-1-16
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2017-1-28
กรอกหมายเลขโพสต์ ที่ต้องการจะข้ามไปดูในแต่ละโพสต์
คัดลอกลิงค์
บันทึกการเลี้ยงด้วงคีมสมันซินิคุส ชนิดย่อยคอนคัลเล่อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudorhaetus sinicus concolor

ถิ่นกำเนิด ประเทศจีนตอนใต้และเกาะไต้หวัน

DSC_3515.jpg
(สมันซินิคุส 60+มม.)

ด้วงตัวนี้ผมเริ่มตามหาหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการเพาะด้วงคีมสมันทองเหนือครับ
เพราะในใจคิดว่าวิธีการน่าจะใกล้เคียงกัน
ใช้เวลาควานหาประมาณปีกว่าๆ ซึ่งใช้เวลานานทีเดียว
น่าจะเป็นเพราะว่าเป็นด้วงที่ไม่ค่อยมีใครเพาะกันนั่นเอง

"ด้วงชนิดนี้มี 2 ชนิดย่อย ความต่างมีจุดเดียวคือโคนขา"
P.s.sinicus โคนขาสีแดง พบได้ที่จีนและไต้หวัน
P.s.concolor โคนขาดำ พบได้ที่ไต้หวันเท่านั้น


ผมได้มา 2 คู่ จากเพื่อนญี่ปุ่น 1 คู่ และจากเพื่อนไต้หวัน 1 คู่
ของญี่ปุ่นเล็กกว่า ซึ่งเป็นตัวเพาะแน่นอน ส่วนของจีนเป็นตัวจับ ขนาดประมาณ 60มม.กว่าๆ ฟอร์มเต็มสวยมาก

เริ่มต้นพักตัวซึ่งใช้เวลานานประมาณ 2 เดือน
วิธีการพักตัวก็เหมือนด้วงคีมทั่วไป ไม่ค่อยยุ่งยาก ส่วนตัวเมียก็อัดอาหารให้เต็มที่ก่อนผสมพันธุ์ครับ

ผสมพันธุ์ในกล่องเลี้ยงขนาดเล็ก แล้วหมั่นสังเกตตอนกลางคืนว่าเข้าคู่กันดีหรือไม่
ใช้เวลาเลี้ยงรวมกันประมาณ 7 วัน ก็เพียงพอ
อาจจะเลี้ยงรวมนานกว่านี้ก็ได้ ถ้าด้วงเข้าคู่กันดี แต่ก็น่ากลัวตัวเมียสิ้นชีพนิดๆ
จากนั้นจึงย้ายตัวเมียลงในถังเพาะพันธุ์
วิธีการจัดตู้เหมือนด้วงคีมสมันทองเหนือ
รองพื้นบางๆ ใส่ขอนไม้ขนาดเล็ก นิ่มๆลงไป 2 ท่อน เพื่อให้ด้วงวางไข่ด้วย แล้วกลบทับด้วยวัสดุรองพื้นจนมิด

โดยสรุปตัวเมียจะวางไข่ในขอนไม้ผุเท่านั้น จากตู้เลี้ยงไม่พบตัวหนอนในวัสดุรองพื้นเลยซักตัวเดียว
ดังนั้นไม้ผุมีความสำคัญมากสำหรับการเลี้ยงด้วงชนิดนี้ครับ

IMG_8420.jpg

ข้อมูลการเพาะเลียงโดยสรุป
พ.ย. 54 - ผสมพันธุ์
ธ.ค. 54 - เริ่มเพาะพันธุ์ในตู้วางไข่ ใช้ไม้ก่อผุนิ่ม 2 ท่อน
ม.ค. 55 - ตัวอ่อนรุ่นแรกฟักจากไข่แล้ว แยกเลี้ยงในกระปุก 650cc (นับว่าเร็วมากจนน่าตกใจ)
พ.ค. 55 - เปลี่ยนอาหารครั้งแรก เลี้ยงด้วย ELmat pro ในกระปุก 1500cc เป็นตัวหนอนระยะ 3 แล้วครับ
ส.ค. 55 - เปลี่ยนอาหารครั้งที่ 2 เลี้ยงด้วย ELmat pro ในกระปุก 1500cc
พ.ย. 55 - ทำโพรงดักแด้
ธ.ค. 55 - เข้าดักแด้แล้ว

ตัวหนอนเลี้ยงด้วย ELmat ตลอด 1 ปี
สามารถเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดได้ แต่จากประสบการณ์แนะนำว่าใช้แค่วัสดุรองพื้นก็เพียงพอแล้วครับ



มี 6 ผู้ให้คะแนนความเทพ ย่อ เหตุผล
thitinan + 1 เยี่ยมมากๆ
Dhananda + 1 เยี่ยมมากๆ
พอร์ท + 4 เนื้อหาดีมีสาระ.
guntrkorn + 1 เยี่ยมมาก ขอบคุณครับ.
Tawin + 1 เยี่ยมมาก ขอบคุณครับ.
Gunt + 1 ขอบคุณครับ

คะแนนรวม: ความเทพ + 9   ดูบันทึกคะแนน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รูปแบบข้อความล้วน|Siambeetle

GMT+7, 2024-5-5 09:32 , Processed in 0.010700 second(s), 14 queries .

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน