Siambeetle forum

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ดู: 15635|ตอบ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

Cyclommatus metalifer ด้วงคีมเนื้อทรายเมทาลิเฟอร์ [คัดลอกลิงก์]

Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25

เวลาออนไลน์
1477 ชั่วโมง
UID
1
เครดิต
8072
ความเทพ
766
ประสบการณ์
4261
ทองคำ
201
โพสต์
1877
กระทู้
197
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-1-16
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2017-1-28
Cyclommatus metalifer
ด้วงคีมเนื้อทรายเมทาลิเฟอร์


cyme.jpg

ข้อมูลการเพาะเลี้ยงสามารถใช้ร่วมกับชนิดย่อยทั้งหมดได้

ถิ่นกำเนิด :: ประเทศอินโดนีเซีย
ขนาดใหญ่สุด :: ประมาณ 98 มม.
ระดับความหายาก :: ปานกลาง
ระดับความยากในการเลี้ยง :: ระดับที่ 2

จุดเด่น ::
  • ด้วงคีมเนื้อทรายที่ยาวที่สุด มีสีเหมือนเงินทองแดง สะท้อนแสงได้
  • มีคีมยาวมาก ด้วงที่มีขนาดใหญ่จะมีคีมยาวกว่าช่วงปีกอาจจะถึง 2 เท่าตัว
  • ชอบบินในเวลากลางวัน หากสถานที่อาศัยไม่เหมาะสม
  • จัดว่าเป็นด้วงยอดนิยมหนึ่งชนิดในสกุลนี้ เพราะขนาดคีมที่ยาวสวยและสีสันที่ไม่เหมือนใคร

ขนาดตู้เลี้ยงสำหรับตัวเต็มวัย :: ตู้เลี้ยงขนาดกลาง
ขนาดกระปุกสำหรับตัวอ่อน :: กระปุก 800-1000 มล.

ไม้ผุ :: ชอบไม้ผุที่มีความนิ่มมาก
ลักษณะการวางไข่ :: สามารถวางไข่ได้ทั้งในไม้ผุ รอบๆขอนไม้ผุ และในวัสดุรองพื้น ตัวเมียจะกัดท่อนไม้จนเป็นขุยก่อนจะใช้ขุยไม้มาปั้นทำกระเปาะสำหรับวางไข่ด้านใน

อุณหภูมิ ::
  • best 15-20C
  • normal 21-24C
  • poor 25-28C

ปริมาณไข่โดยเฉลี่ย :: 40-80 ฟอง
อายุตัวเต็มวัย ::
  • เพศผู้ 5-6 เดือน
  • เพศเมีย 5-6 เดือน
อายุตัวอ่อน ::
  • เพศผู้ 6-8 เดือน
  • เพศเมีย 4-7 เดือน

อาหารตัวอ่อน
  • ELmat

Siambeetle Tip
สุดยอดด้วงคีมที่สีสันสวยงาม มีขนาดใหญ่สะใจ คีมยาวสุดๆ และเพาะเลี้ยงไม่ยาก ยังมีอัตรการพบในธรรมชาติพอสมควร
ถ้าเป็นนักเพาะหน้าใหม่ที่พอศึกษาข้อมูลมาบ้างน่าจะสามารถเพาะด้วงคีมชนิดนี้ได้ครับ
อายุขัยเฉลี่ยอาจจะไม่สูงมากนัก ดังนั้นหลังจากพักตัวประมาณ 1-2 เดือนควรรีบจับคู่และลงเพาะให้เร็วที่สุด
เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน อัตราการเพาะจะลดลง

ตัวผู้ที่มีคีมยาวจะเลี้ยงยากกว่าตัวที่คีมสั้นอันเนื่องมาจากน้ำหนักของคีมที่มากส่งผลให้การเคลื่อนไหวของด้วงลำบากมากขึ้น เวลาทานอาหารต้องมีพื้นที่สำหรับวางพักคีม ควรเลี้ยงในกล่องที่มีขนาดใหญ่เล็กน้อย และวางอาหารไว้ตรงกลางกล่องเลี้ยงเท่านั้น ถ้าวางอาหารไว้ข้างๆกล่องจะทำให้ด้วงทานอาหารไม่ได้และอาจจะหมดแรงตายได้ในที่สุด
ด้วงตัวผู้และตัวเมียไม่ดุมาก สามารถเลี้ยงรวมกันได้เลย
สามารถวางไข่ได้ง่าย ทั้งในวัสดุรองพื้นและในขอนไม้ผุ ประมาณรอบละ 20-30 ฟอง/1.5-2 เดือน ซึ่งตัวเมียจะสามารถเลี้ยงได้ประมาณ 2-3 กล่องเลี้ยงก็จะตายลง

ตัวอ่อนเปลี่ยนอาหารประมาณ 2-3 กระปุก/800-1000cc. ก็เพียงพอ หากเลี้ยงในที่เย็นมีโอกาสจะได้ตัวเต็มวัยขนาดใหญ่มากกว่าที่ร้อน
ดักแด้ไม่ควรแกะออกมาจากโพรงเพราะการลอกคราบเพื่อเป็นตัวเต็มวัยมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะหงายท้องและปีกยับ

เพาะเลี้ยงได้โดย ::
  • สำหรับวางไข่
  • สำหรับเร่งน้ำหนักตัวอ่อน และวางไข่
  • ไม้ผุขนาด S ,M  สำหรับวางไข่

มี 4 ผู้ให้คะแนนความเทพ ย่อ เหตุผล
oad66 + 1 เนื้อหาดีมีสาระ.
kane + 1 เนื้อหาดีมีสาระ.
Cafe' + 1 เนื้อหาดีมีสาระ.
Dhananda + 1 เยี่ยมมากๆ

คะแนนรวม: ความเทพ + 4   ดูบันทึกคะแนน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รูปแบบข้อความล้วน|Siambeetle

GMT+7, 2024-5-4 14:27 , Processed in 0.017101 second(s), 14 queries .

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน