Siambeetle forum

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ดู: 31945|ตอบ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ขั้นตอนการเลี้ยงตัวอ่อนด้วงกว่างเฮอร์คิวลิส :: Dynastes hercules larvae care sheet [คัดลอกลิงก์]

Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25

เวลาออนไลน์
1477 ชั่วโมง
UID
1
เครดิต
8072
ความเทพ
766
ประสบการณ์
4261
ทองคำ
201
โพสต์
1877
กระทู้
197
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-1-16
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2017-1-28
แนะนำขั้นตอนและกระบวนการในการเลี้ยงดูหนอนด้วงกว่างเฮอร์คิวลิส
Dynastes hercules Breeding guide


ด้วงกว่างเฮอร์คิวลิสไม่ได้จัดว่าเป็นด้วงที่เลี้ยงยากมากอย่างที่คิด
เพียงแต่ต้องอาศัยระยะเวลานานนิดนึงกว่าตัวอ่อนจะเข้าดักแด้และออกมาเป็นตัวด้วงให้ได้ชื่นชมกันครับ
ซึ่งก็ไม่ได้นานเกินไปที่จะอดทนรอ เพื่อชมความสำเร็จในการเลี้ยงของเรา

ด้วงกว่างเฮอร์คิวลิสมีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกาใต้
แบ่งเป็นหลายชนิดย่อยซึ่งมีรูปทรงของเขาล่างที่ต่างกัน และมีพื้นที่พบแตกต่างกัน
บางชนิดย่อยมีการค้นพบหลายที่ แต่จะมีจุดแตกต่างกันออกไปตามถิ่นที่พบ เช่น ลวดลายบนหลัง
บริเวณที่มีการค้นพบเช่น โคลอมเบีย บราซิล ชิลี โบลิเวีย เปรู กัวเดลูป

สายพันธุ์ที่มีการเพาะเลี้ยง
Dynastes hercules hercules *ยอดนิยม
Dynastes hercules lichyi *ยอดนิยม
Dynastes hercules ecuatorianus
Dynastes hercules septentrionalis
Dynastes hercules occidentalis
Dynastes hercules trinidadensis
Dynastes hercules bluezeni
Dynastes hercules paschoali
Dynastes hercules takakuwai
Dynastes hercules morishimai
Dynastes hercules reidi


อายุตัวอ่อน
ตัวผู้ 18-22 เดือน
ตัวเมีย 16-20 เดือน
*อายุตัวอ่อนใช้เวลานาน แปรผันตรงกับขนาดของด้วงที่จะออกมา
อายุสั้น = มีโอกาสได้ขนาดเล็ก
อายุยืน = มีโอกาสได้ขนาดใหญ่


อาหารสำหรับเลี้ยง
สูตร 1
Dmat pro 100%
dmatpro.gif
ตัวผู้ทำน้ำหนักได้ 80-100 กรัม
ตัวเมียทำน้ำหนักได้ 50-70

สูตร 2
Dmat pro + ELmat อัตราส่วน  1:1
+ elmat.gif
ตัวผู้ทำน้ำหนักได้ 80-115 กรัม
ตัวเมียทำน้ำหนักได้ 50-70

*น้ำหนักของตัวอ่อน แปรผันตรงกับขนาดของด้วงที่จะออกมา
น้ำหนักน้อย = ตัวเล็ก
น้ำหนักมาก ส่งผล 3 รูปแบบ
= ตัวอ้วนและสั้น
= ตัวผอมและยาว
= ตัวอ้วนและยาว โอกาสเกิดยาก


น้ำหนักและขนาดของตัวผู้โดยประมาณ
120กรัม - 140-160มม.
110กรัม - 135-150มม.
100กรัม - 130-140มม.
90กรัม - 110-130มม.
80กรัม - 100-120มม.

ขั้นตอนการเปลี่ยนอาหาร
1.เทตัวอ่อนและอาหารในกระปุกออกให้หมด
2.ชั่งน้ำหนักของตัวอ่อน
3.ผสมอาหารชุดใหม่ให้เรียบร้อยและบรรจุลงกระปุก กดดินให้แน่น
4.ขุดรูขนาดประมาณ 5ซม. เพื่อนำตัวอ่อนใส่ลงไป และเติมอาหารเก่าลงไปในรูนั้นเพื่อกลบตัวอ่อน

ระยะเวลาการเปลี่ยนอาหารแต่ละรอบ
600-800.gif กระปุกที่ 1
ตัวอ่อนระยะ 1-2
10 สัปดาห์
1500.gif กระปุกที่ 2
ตัวอ่อนระยะ 2-3
10 สัปดาห์
3000.gif กระปุกที่ 3
ตัวอ่อนระยะ 3
12 สัปดาห์
กระปุกที่ 4
ตัวอ่อนระยะ 3
12 สัปดาห์
กระปุกที่ 5
ตัวอ่อนระยะ 3
12 สัปดาห์
กระปุกที่ 6
ตัวอ่อนระยะ 3
12 สัปดาห์
ตัวหนอนที่มีขนาดเล็กอาจจะเข้าดักแด้
female.gif กระปุกที่ 7
ตัวอ่อนเพศผู้เปลี่ยนอาหารกระปุกที่ 7
ตัวอ่อนระยะ 3
12 สัปดาห์

ตัวอ่อนเพศเมียไม่ต้องเปลี่ยนอาหาร
รอเข้าดักแด้
pupa.gif กระปุกที่ 7
ตัวอ่อนเพศผู้ไม่ต้องเปลี่ยนอาหาร
รอเข้าดักแด้


***หลังจากด้วงรอเข้าดักแด้
ตัวอ่อนจะทำโพรงอาจจะด้านล่าง หรือด้านข้างกล่องเลี้ยง
ซึ่งไม่ต้องเปลี่ยนอาหาร และรอให้ด้วงเข้าดักแด้ได้เลย
กินระยะเวลาอีกประมาณ 3-4 สัปดาห์ หลังจากเข้าดักแด้ ด้วงก็จะลอกคราบออกมาเป็นตัวเต็มวัยให้ได้ชื่นชม



อุณหภูมิ
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยง 20-26 องศาเซลเซียส
หากห้องเลี้ยงมีอุณหภูมิสูงเกินต้องช่วยลดความร้อนให้กับกระปุกเลี้ยงด้วยครับ

มีหลายวิธีให้เลือกตามกำลังทรัพย์
- เปิดแอร์ประมาณ 24 องศา *แนะนำ
- ตู้แช่ไวน์ คุมอุณหภูมิได้ 18-25องศา
- ปรับระบบทำความเย็นของตู้เย็นโดยช่างเฉพาะ คุมอุณหภูมิได้ 18-25 องศา
- นำกระปุกเลี้ยงแช่ไว้ในน้ำแล้วเป่าพัดลมช่วย ลดได้ประมาณ 3-4 องศาจากอุณหภูมิปกติ
- วางไว้ในจุดที่เย็นที่สุดของบ้าน เช่น ใต้อ่างล้างมือในห้องน้ำ หรือห้องใต้ดิน
- ฝังโอ่งหรือกระถางที่มีฝาปิดไว้ใต้ดิน แล้วนำกระปุกเลี้ยงไว้ในนั้น รดน้ำที่พื้นโดยรอบ อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26-28องศา *แนะนำ
- เลี้ยงในถังแช่น้ำแข็ง แล้วใช้น้ำใส่ขวดแช่ในช่องแข็งนำมาสลับเปลี่ยนในถัง อุณหภูมิเฉลี่ย 20-26องศา ตามปริมาณน้ำแข็งที่ใส่ในถัง

*อุณหภูมิ แปรผันตรงกับขนาด น้ำหนัก และอายุของตัวอ่อน
อุณหภูมิสูง
= ตัวอ่อนเข้าดักแด้ไว = ตัวอ่อนมีน้ำหนักน้อย = ตัวด้วงมีโอกาสได้ขนาดเล็ก = ตัวอ่อนมีโอกาสตาย

อุณหภูมิพอเหมาะ
= ตัวอ่อนเข้าดักแด้ตามระยะเวลา = ตัวอ่อนมีน้ำหนักมาตราฐาน-สูง = ตัวด้วงมีโอกาสได้ขนาดกลาง-ใหญ่มาก

อุณหภูมิต่ำ
= ตัวอ่อนเข้าดักแด้ไว = ตัวอ่อนมีน้ำหนักมาตราฐาน-น้อย = ตัวด้วงมีโอกาสได้ขนาดเล็ก-ใหญ่ = ตัวอ่อนมีโอกาสตาย




มี 7 ผู้ให้คะแนนความเทพ ย่อ เหตุผล
oad66 + 1 เนื้อหาดีมีสาระ.
PJPP + 1 เนื้อหาดีมีสาระ.
p.suphat + 4 สวดยวด
TheChamPBeetlE + 1 ขอบคุณครับ
art + 5 เยี่ยมมากๆ
ปลากัด + 4 เนื้อหาดีมีสาระมากๆค.
kittanai03 + 1 เนื้อหาดีมากๆๆครับ.

คะแนนรวม: ความเทพ + 17   ดูบันทึกคะแนน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รูปแบบข้อความล้วน|Siambeetle

GMT+7, 2024-5-2 08:13 , Processed in 0.010541 second(s), 14 queries .

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน