Siambeetle forum

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ดู: 8279|ตอบ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วิธีเลี้ยงหนอนด้วงกว่าง [คัดลอกลิงก์]

Rank: 20Rank: 20Rank: 20Rank: 20Rank: 20

เวลาออนไลน์
753 ชั่วโมง
UID
44
เครดิต
3603
ความเทพ
244
ประสบการณ์
2186
ทองคำ
10
โพสต์
909
กระทู้
67
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-2-12
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2018-3-19
ต้นฉบับโพสต์โดย Simonshi เมื่อ 2016-1-2 14:43
ขอบคุนครับ พอดีผมพึ่งจะเลี้ยงได้เดือนเดียว พึ่งเปล ...

ตัวอ่อนสามเขาทุก ssp. ดุทุกตัวครับ ชอบแว้งกัด เลิอดไหลซิบๆ มาแล้ว ระวังหน่อยละกันครับเวลาจับก็จับใกล้ๆหัวเพื่อไม่ให้มันหันมากัด หรือใช้ช้อนตักเอา ส่วนอาหารนั้นขึ้นอยู่กับการกินของตัวอ่อนและการจัดเตรียมอาหารของผู้เลี้ยงด้วยครับ ถ้าตัวอ่อนมีนิสัยกินจุตัวใหญ่ อาหารก็จะหมดเร็ว และถ้าผู้เลี้ยงหมักอาหารตัวอ่อนให้มีความชื้นที่เหมาะสม ตัวอ่อนก็จะกินได้มากขึ้นเช่นกัน ปัจจัยที่ทำให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตได้ดี คือ ความชื้น อากาศ อาหาร ขนาดภาชนะและ อุณหภูมิ
ข้อคิดเห็น เลี้ยงไม่ต่างไปจากกว่างชนิดอื่นเท่าไหร่ แค่ควบคุมอุณหภูมิไม่สูงเกินไปไม่ต่ำเกินไป 17-28 องศาเซลเซียส เมื่อตัวอ่อนสามเขาอยู่ในระยะ L3 ให้เลี้ยงในภาชนะขนาด 2000 cc ขึ้นไป เมื่อตัวอ่อนใกล้จะเข้าระยะดักแด้ จะมีสีเหลือง แต่หดขนาดตัว ถ้าเราไม่สามารถสังเกตุเห็นตัวด้วงได้ เราสามารถสังเกตุหาโพรงดักแด้ที่ตัวอ่อนสร้างไว้ ถ้าตัวอ่อนทำโพรงติดกับพื้นภาชนะหรือข้างภาชนะ ก็จะเห็นบริเวณนั้นค่อยข้างเข้มและเด่นชัดกว่าบริเวณอื่น
ข้อแนะนำสำหรับมือใหม่ ไม่ควรเปิดกระปุกเลี้ยงดูตัวอ่อนบ่อย จะทำให้การเข้าดักแด้ ช้าลง  หรือกินอาหารน้อยลง และถ้าด้วงเข้าระยะดักแด้ไม่ควรรื้อกระปุกจะทำให้โพรงพัง เมื่อด้วงลอกคราบก็จะพิการหรือผิดรูป แต่ถ้าจะรื้อ....... ก็ควรทำอย่างระมัดระวัง โพรงดักแด้จะมีความแแข็งทนทาน เราสามารถค่อยๆตักวัสดุเลี้ยงออกทีละน้อยๆ จนกว่าจะเจอโพรง แล้วก็ค่อยๆแกะผิวโพรงด้านบนออกก็จะเจอสิ่งที่อยู่ด้านใน ! อย่าทำตามน้าาา สงสารด้วง

Rank: 20Rank: 20Rank: 20Rank: 20Rank: 20

เวลาออนไลน์
753 ชั่วโมง
UID
44
เครดิต
3603
ความเทพ
244
ประสบการณ์
2186
ทองคำ
10
โพสต์
909
กระทู้
67
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-2-12
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2018-3-19
ต้นฉบับโพสต์โดย Simonshi เมื่อ 2016-1-6 11:14
ขอบคุนครับ แล้วถ้าตัวอ่อนเข้าดักแด้ต้องใช้เวลาประ ...

ระยะดักแด้ ประมาณ1 เดือน เมื่อออกจากดักแด้ ต้องรอปีกแห้งก่อน ในขณะที่ปีกยังไม่แห้ง ห้าม! ไปรบกวนด้วง จะดีที่สุด ถ้าเกิดอุบัติเหตุ ปีกบุบเบี้ยว เสียดายแย่
1.เราสามารถปล่อยให้ด้วงพักตัวอยู่ในกระปุกเลี้ยงเดิม สภาพเดิมได้ จนกว่าจะหมดระยะพักตัว 3-4 เดือน โดยประมาณ
2. 1 สัปดาห์แรกผ่านไป เราจะรื้อกระปุก ลดปริมาณดินพอให้ด้วงมุดหลบได้และกินอาหารได้ เราจะใช้กระปุกเดิมหรือกระปุกใหม่ก็ได้ ใส่เศษไม้ให้ด้วงเกาะ ใส่อาหารไว้เผื่อด้วงกิน  
*** แนะนำวิธีที่ 2 อิอิ

Rank: 20Rank: 20Rank: 20Rank: 20Rank: 20

เวลาออนไลน์
753 ชั่วโมง
UID
44
เครดิต
3603
ความเทพ
244
ประสบการณ์
2186
ทองคำ
10
โพสต์
909
กระทู้
67
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-2-12
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2018-3-19
ต้นฉบับโพสต์โดย Simonshi เมื่อ 2016-1-9 01:38
ครับ ถ้าเปนวิธีแรก พอหมดระยะพักตัว3-4เดือนแล้ว เราก้ ...

วิธีแรกนั้นเราจะไม่ยุ่งกับด้วง เราจะปล่อยให้ด้วงขึ้นมาจากดินเอง เมื่อนั้นแปลว่ามันเริ่มหาอาหารและพักเพียงพอแล้ว เราสามารถใส่เยลลี่ไว้ได้ เพราะเยลลี่สามารถอยู่ได้นาน ไม่เน่าเสียไว และลดปัญหาเรื่องแมลงหวี่
วิธีที่สองก็เหมือยจัดตู้เลี้ยง แต่เลี้ยงในกระปุกหนอนที่ด้วงเกิดมา แต่ถ้าจะให้ดี กระปุกต้องทึบไม่ควรเลี้ยงในภาชนะที่แสงผ่านได้ง่าย เช่นตู้กระจก กระปุกพลาสติกใส ควรเลี้ยงในกระปุกพลาสติกขุ่น เพราะแสงจะไปรบกวนการพักตัวของด้วง แต่ถ้าด้วงพ้นระยะพักตัวก็สามารถเลี้ยงในตู้ได้
เรื่องดูเพศ พี่ขอยกธงขาวเลยครับ แต่ถ้าดูแล้วยังไม่เห็น อาจจะต้องรอ เลี้ยงไปสักพัก เพราะมันอาจจะยังแยกไม่ได้ จุดไม่ชัด  อย่างเช่น ด้วงกว่างญี่ปุ่น ดูยากมากกกกก ตอนแรกดูเป็นตัวผู้ พอเข้าดักแด้ เอ๊า ตัวเมีย.... เพราะฉะนั้นเรื่องเพศไม่แน่นอน555 จับขึ้นมาเปลี่ยนอาหารก็ดูทุกครั้งละกัน
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รูปแบบข้อความล้วน|Siambeetle

GMT+7, 2024-5-3 20:04 , Processed in 0.013671 second(s), 9 queries .

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน