Siambeetle forum

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ดู: 23704|ตอบ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

Allotopus moellenkampi babai ด้วงคีมทองกาญจน์ [คัดลอกลิงก์]

Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25

เวลาออนไลน์
1477 ชั่วโมง
UID
1
เครดิต
8072
ความเทพ
766
ประสบการณ์
4261
ทองคำ
201
โพสต์
1877
กระทู้
197
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-1-16
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2017-1-28
Allotopus moellenkampi babai
ด้วงคีมทองกาญจน์

almoba.jpg

ถิ่นกำเนิด :: ประเทศพม่าตอนใต้ ,ประเทศไทย แถบจังหวัดกาญจนบุรี
ขนาดใหญ่สุด :: ประมาณ 84 มม.
ระดับความหายาก :: หายากมาก
ระดับความยากในการเลี้ยง :: ระดับที่ 5

จุดเด่น ::
  • ด้วงคีมทองเพียงชนิดเดียวที่มีโอกาสพบในประเทศไทย หายากมาก มีการค้นพบน้อยลง
  • ทั้งตัวมีสีทองออกโทนสว่าง ถ้าได้รับความชื้นจะกลายเป็นสีดำเข้ม แต่ถ้าแห้งก็จะกลับมาสว่างเหมือนเดิม
  • พัฒนาการเพาะเลี้ยงในต่างประเทศทำให้ด้วงคีมทองกลายเป็นด้วงที่หาได้ง่าย เนื่องจากสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย แต่ในประเทศไทยยังจัดว่าเพาะได้ยาก เนื่องมาจากอุปกรณ์ในการเพาะเลี้ยงนั้นหายาก
  • คีมของตัวผู้จะยืดไปข้างหน้า เต็มรูปทรงเมื่อมีความยาวรวมเกิน 65-67มม.
  • มีความคล้ายกับคีมทองชนิดย่อยโมเซรี่มาก สามารถดูความต่างได้เฉพาะคีมที่ฟอร์มครบสมบูรณ์เท่านั้น

ขนาดตู้เลี้ยงสำหรับตัวเต็มวัย :: ตู้เลี้ยงขนาดกลาง
ขนาดกระปุกสำหรับตัวอ่อน :: กระปุก 600-2000 มล.

ไม้ผุ :: ชอบไม้ผุที่มีเชื้อคาวาระเท่านั้น
ลักษณะการวางไข่ :: ตัวเมียชอบวางไข่ในไม้ผุเฉพาะสำหรับคีมทองได้ โดยจะกัดแทะเข้าไปในไม้ ก่อนที่จะใช้เศษไม้ที่กัดปั้นเป็นก้อนเพื่อวางไข่ และสามารถวางไข่ในก้อนเชื้อเห็ดเฉพาะสำหรับคีมทองได้ด้วย มีโอกาสแต่น้อยมากที่จะได้รับไข่ในไม้ผุปกติหรือในวัสดุรองพื้น

อุณหภูมิ ::
  • best 20-25C
  • normal 17-28C
  • poor 29-33C

ปริมาณไข่โดยเฉลี่ย :: 20-30 ฟอง
อายุตัวเต็มวัย ::
  • เพศผู้ 8-10 เดือน
  • เพศเมีย 8-10 เดือน
อายุตัวอ่อน ::
  • เพศผู้ 10-13 เดือน
  • เพศเมีย 8-12 เดือน

อาหารตัวอ่อน
  • เชื้อเห็ดคาวาระ

Siambeetle Tip
คีมทองได้รับความฮือฮาและเป็นที่นิมยมเพราะสีของตัวด้วงที่แปลก และเป็นสีทอง ในช่วงแรกที่เข้าไปสู่ตลาดญี่ปุ่นนั้นยังไม่มีใครสามารถเพาะเลี้ยงได้ เพราะตัวเมียนั้นไม่ยอมวางไข่ให้เลย รายงานการเพาะเลี้ยงชุดแรกๆที่ออกมานั้นถูกเผยแพร่เมื่อประมาณปี 2002 และได้รับการยืนยันข้อมูลถึงกระบวนการการเพาะเลี้ยงอย่างเป็นทางการเมื่อประมาณปี 2005 ที่ผ่านมานี้เอง
เหตุที่ทำให้ตัวเมียไม่ยอมวางไข่นั้นเป็นเพราะต้องการขอนไม้ที่มีเชื้อเห็ดพิเศษเฉพาะสำหรับด้วงคีมทองเท่านั้น
หลังจากที่วิธีการเพาะเลี้ยงได้ถูกเผยแพร่ออกมา การเพาะเลี้ยงด้วงคีมชนิดนี้จึงได้รับความนิยมมากขึ้น
ด้วงคีมทองกาญจน์จัดเป็นด้วงคีมทองรุ่นหลังๆที่เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากความหายาก และราคาที่สูงมาก เมื่อราวๆ ปี 2008 ตัวเต็มวัย 60มม. อยู่ที่คู่ละ 20,000 บาทขึ้นไป ปัจจุบันราคาตัวจากธรรมชาติถูกลงมามากแล้ว เพราะการประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงที่ญี่ปุ่นนั่นเอง
ตัวเมียสามารถวางไข่ในก้อนเชื้อเห็ดคาวาระได้ เฉลี่ยก้อนละประมาณ 5-10 ฟอง เมื่อเลี้ยงตัวเมียให้วางไข่ประมาณ 3 รอบ ตัวเมียก็จะตายลง
แต่หากมีขอนไม้สำหรับคีมทอง ตัวเมียชอบที่จะวางไข่ในขอนไม้มากกว่า
คีมทองกาญจน์ชอบอากาศชื้นมาก ควรดูแลเรื่องความชื้นอย่าให้ขาดหรืออย่าให้แห้งจนเกินไปในช่วงเวลาวางไข่
ตัวอ่อนสามารถทานวัสดุรองพื้นได้ แต่ไม่สามารถทำน้ำหนักหรือขนาดได้ดีเท่าเชื้อเห็ดคาวาระ

เพาะเลี้ยงได้โดย ::
  • เชื้อเห็ดคาวาระ สำหรับวางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อน

มี 9 ผู้ให้คะแนนความเทพ ย่อ เหตุผล
marknaga1326 + 1 เนื้อหาดีมีสาระ.
tanapat + 1 เนื้อหาดีมีสาระ.
art + 1 เยี่ยมมากๆ
junk + 1 เนื้อหาดีมีสาระ.
lovegraw + 1 เห็นด้วยมากๆ
TeN + 1 เนื้อหาดีมีสาระ.
ladybird + 1
pun0007za + 3 โดนใจอย่างแรงส์.
our111 + 1 ขอบคุณครับ

คะแนนรวม: ความเทพ + 11   ดูบันทึกคะแนน

Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25

เวลาออนไลน์
1477 ชั่วโมง
UID
1
เครดิต
8072
ความเทพ
766
ประสบการณ์
4261
ทองคำ
201
โพสต์
1877
กระทู้
197
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-1-16
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2017-1-28
คัดลอกลิงค์
โพสต์เมื่อ 2012-6-14 21:52:35 |แสดงโพสต์ทั้งหมด
68+ คือฟอร์มแบบในรูปนั่นแหละ
สั้นๆ "งาม"
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รูปแบบข้อความล้วน|Siambeetle

GMT+7, 2024-5-6 06:37 , Processed in 0.008895 second(s), 14 queries .

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน