Siambeetle forum

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ดู: 4758|ตอบ: 0

เปิดบันทึกหนึ่งในประวัติศาสตร์พัฒนาการการเพาะด้วง ตอนที่ 3 ลุยเพาะ ลงมือ จดบันทึก [คัดลอกลิงก์]

Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25

เวลาออนไลน์
1477 ชั่วโมง
UID
1
เครดิต
8072
ความเทพ
766
ประสบการณ์
4261
ทองคำ
201
โพสต์
1877
กระทู้
197
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-1-16
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2017-1-28
โพสต์เมื่อ 2016-4-22 09:05:46 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบทความนี้อยู่ระหว่างปี 2550-2551 จะเรียกว่าเป็นการขุดความทรงจำขึ้นมาบอกเล่าให้ฟังก็ได้ครับ

ในภาพคือยีราฟชุดแรกที่ถูกเพาะเลี้ยงได้ครบรอบในปี 2551 เป็นเรื่องที่ปลาบปลื้มใจเป็นอย่างมากในตอนนั้น

มาถึงตอนนี้ข้อมูลหลักในการเลี้ยงด้วงจากการสำรวจของผมถูกสะสมมาได้ราวๆ 60-70% เก็บเช็คลิสที่สำคัญๆไว้
เช่น
- หาตัวอย่างไม้และชนิดไม้ที่จะนำมาใช้งานได้แล้ว
- รู้สถานที่อาศัยของด้วงแล้ว
- วัดอุณหภูมิที่ด้วงอาศัยอยู่มาเรียบร้อยแล้ว
- เช็คความชื้นมาแล้ว แต่ว่าข้อมูลส่วนนี้ไม่ได้วัดด้วยเครื่องมือเท่านั้นเอง ใช้ความรู้สึกล้วนๆ
มีเรื่องหนึ่งที่รู้อยู่แล้วคือ ..... วงจรชีวิตของด้วง

ข้อมูลจากหนังสือและอินเตอร์เน็ท เช่น
- วิธีการจัดตู้
- อุปกรณ์แบบต่างๆ
- การผสมพันธุ์
- การเลี้ยงหนอน (ข้อมูลตรงนี้รู้แค่บางส่วนเท่านั้นเอง)

ขณะที่รวบรวมข้อมูลในป่านั้น จริงๆแล้วก็กำลังปฏิบัติการในส่วนของการเพาะเลี้ยงไปพร้อมๆกันด้วยเช่นกัน
เพราะการเลี้ยงจริงแต่ละชนิดนั้นต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนกว่าจะรู้ข้อผิดพลาดในแต่ละขั้นตอน

คงจะไม่มีใครรู้ว่าช่วงแรกตู้เปล่ามีร้อยตู้ก็เลี้ยงเต็มร้อยตู้กันเลย และช่วงแรกยังเป็นช่วงที่ใช้ตู้กระจกในการเลี้ยง
อยู่ครับ สั่งตัดตู้กระจกครั้งนึงไม่ต่ำกว่า 150 ใบ เพื่อเอามาใช้เลี้ยงด้วงและเลี้ยงแมลงโชว์อีกส่วนหนึ่ง ถังพลาสติก
เพิ่งจะเริ่มนำมาใช้ในปีหลังๆ หลังจากที่รู้สึกว่าตู้กระจกไม่ได้ตอบโจทย์ในการใช้งานแล้ว

ในช่วงนั้นผมจะมีสมุดเปล่าหนึ่งเล่มเป็นสมุดปกหนังสีน้ำตาล แต่ละหน้าจะมีหมายเลขตู้เพาะเลี้ยงทั้งหมดถูกจดเอาไว้ แต่ละหน้าจะวาดรูปบันทึกรูปแบบการจัดตู้แต่ละตู้เอาไว้ ใช้วัสดุรองพื้นอะไร ขนาดท่อนไม้กี่ซม. ความนิ่มระดับไหน วันที่เท่าไร และเป็นด้วงอะไร ผมจำได้ว่าด้วงคีมฟันเลื่อยชนิดเดียวได้ทดลองเพาะจัดตู้แตกต่างกันมากถึง 10
แบบ เช่น
- รองพื้นบางๆแล้วใส่ขอนไม้
- รองพื้นจนเต็มแต่ไม่กด
- รองพื้นจนเต็มและกดแน่น
- ไม่รองพื้นเลย ใส่ขอนไม้จนเต็ม
- รองพื้นบางๆกดแน่น ใส่ขอนไม้แล้วถมจนท่วม
- รองพื้นบางๆ แล้วใส่ก้อนเห็ด
- รองพื้นด้วงแมทหยาบมากๆ แล้วใส่ท่อนไม้ ฯลฯ
และก็แน่นอนว่าในการริ้อตู้แต่ละครั้ง ข้อมูลทั้งหมดผมจะบันทึกลงไปในสมุดนั้น และนักเลี้ยงด้วงทุกคนควรจะปฏิบัติให้เป็นนิสัยนะครับ เพราะถ้าเราเลี้ยงด้วงจำนวนมากหลักสิบตู้เพาะขึ้นไป มีสิทธิ์ที่เราจะพลาดหรือว่าลืมข้อมูลสำคัญไปอย่างแน่นอน

มันเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าเสียใจไปพร้อมๆกัน บางตู้เพาะเลี้ยงเราประสบความสำเร็จ ได้ตัวอ่อนและไข่มาจำนวนหนึ่ง ในขณะที่บางตู้เลี้ยงนั้นไม่พบอะไรเลยนอกจากเศษไม้ และบางครั้งยังพบตัวด้วงตายอีกต่างหาก บางตู้ถึงแม้ว่าจะจัดด้วยวิธีเดียวกัน มีตู้หนึ่งได้หนอน กลับกันอีกตู้กลับไม่พบอะไรเลย มันเลยเป็นช่วงเวลาในการบันทึกที่ค่อนข้างหนักเอาการสำหรับคนๆหนึ่งและตู้เพาะด้วงนับร้อยตู้ มีทั้งตัวแปรที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ บางครั้งก็เยอะเกินไปจนทำให้พลาดหลงบางตู้ไป

มีบางตู้ที่นึกแล้วตลกมาก แทบไม่ได้ทำอะไรเลย ตักดินถมๆเข้าไปเป็นไม้เก่าใช้ซ้ำอีกต่างหาก ใส่เปลือกไม้ทับหน้า ใส่ด้วง ปิดฝา แต่หนอนออกมาเกือบห้าสิบตัว แถมเป็นแมลงต้องห้ามอีก เลี้ยงไปก็ขำไป แมลงต้องห้ามมันเพาะง่ายขนาดนี้เลยเหรอฟระ แล้วจะสงวนเอาไว้ทำไม

มาในวันนี้พอมองกลับไปตรงช่วงเวลานั้น ผมเองดูราวกลับเป็นคนบ้าคนนึงที่ไม่ได้สนใจอะไรเลยนอกจากพยายามแก้ปัญหาให้เลี้ยงด้วงให้ได้ และพยายามไขโจทย์ที่ผมได้ตั้งมันขึ้นมาให้ได้ ยังไม่รู้เลยว่ามันเป็นงานที่จะเลี้ยงชีพเราได้หรือไม่ด้วยซ้ำ ต้อบอกว่าโชคดีมากที่ช่วงนั้นพ่อและแม่ยังพอซัพพอร์ทในส่วนค่าใช้จ่ายได้ถึงแม้จะไม่มากก็ตาม

ปีนั้นเป็นช่วงที่ทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่า วิธีไหนที่ไม่ดีก็ค่อยๆตัดออกไป จนเหลือแนวทางที่เราคิดว่ามันโอเคที่สุดละ จึงลุยในแนวทางนั้นไปเรื่อย เลี้ยงไปถ่ายรูปไปเพราะส่วนหนึ่งพ่อบอกว่าจะเอารูปไปทำหนังสือด้วย และรูปบางส่วนนั้นก็อยู่ในหนังสือคู่มือคนรักแมลงทั้งเล่ม 1 และเล่ม 2 ซึ่งเป็นเอกสารการเลี้ยงด้วงเล่มแรกๆที่พอจะหาได้ในเมืองไทยในขณะนั้น

คิดว่าน่าจะเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี ที่ผมเฝ้าเพาะด้วงจดบันทึก ถึงแม้ว่าจะมีบางช่วงแผ่วอ่อนแรงลงไปบ้าง หรือบางช่วงฮึดกลับมาสู้บ้าง ก็ตามแรงและเวลาที่มี พอมาในช่วงหลังๆก็เริ่มทบทวนกับตัวเอง พยายามเพาะให้อยู่ในระดับที่เราควบคุมได้และไม่มากเกินไปดีกว่า เป็นเพราะข้อมูลบางตัวก็เก็บไว้ได้จนครบแล้วด้วยนั่นเอง เลยไม่จำเป็นที่จะเพาะเลี้ยงต่อไปถ้าไม่ได้ต้องการนำออกมาจำหน่าย

มาถึงปัจจุบันนี้ผมว่าข้อมูลการเลี้ยงด้วงถูกพัฒนามาเร็วมากและพัฒนามาไกลมากแล้วละ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ที่มีการนำเข้าของนอกมาให้ได้เลือกใช้ มีการทำแมทให้ได้ลองใช้กันจากนักเลี้ยงหลายๆคน ซึ่งนับเป็นข้อดีที่จะทำให้เกิดความหลากหลายในวงการ และเกิดการขับเคลื่อนให้เดินไปข้างหน้าได้เร็วขึ้นด้วย
มีด้วงบางตัวที่คนไทยเมื่อก่อนแทบจะไม่มีหวังได้สัมผัสก็เริ่มมีโผล่เข้ามาในเมืองไทยให้ได้ฮือฮากันอีกด้วย ขนาดผมเองยังฮือฮาแบบเงียบๆไปด้วยเลย (ไม่มีใครรู้สินะ)

ขอบคุณพี่น้องทุกคนที่ได้แวะเวียนเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นการอุดหนุนซื้อสินค้าหรือทักทายพูดคุย ทุกท่านที่เปิดเข้ามาในอ่านได้ถึงตรงนี้ แปลว่าท่านคือคนหนึ่งที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนวงการด้วงในเมืองไทยอย่างแน่นอน

จบตอน เปิดบันทึกหนึ่งในประวัติศาสตร์พัฒนาการการเพาะด้วง


เปิดบันทึกหนึ่งในประวัติศาสตร์พัฒนาการกา.jpg


คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รูปแบบข้อความล้วน|Siambeetle

GMT+7, 2024-3-29 13:47 , Processed in 0.029502 second(s), 13 queries .

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน